









Garmin Running Dynamics Pod
฿2,359
Running Dynamics Pod (RD Pod) นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เริ่มแรกก็เริ่มจากการเชื่อมต่อนาฬิกากับ RD pod ซึ่งนาฬิกาที่สามารถรองรับฟังก์ชั่น Running Dynamics ได้ก็คือ Forerunner 645, 935, fenix5 Series และรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง fenix5 Plus Series การเริ่มต้นการใช้งานก็ง่ายๆ เพียงเหน็บเจ้า RD Pod ตัวเล็กๆนี้ไว้กับขอบกางเกงด้านหลัง แล้วก็เริ่มวิ่งได้เลย
- รายละเอียดเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเติม
-
Cadence: จำนวนก้าว (นับรวมซ้าย+ขวา) ต่อนาที
จำนวนก้าวที่เหมาะสม จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการวิ่ง เหนื่อยน้อยลง วิ่งได้เร็วขึ้น และที่สำคัญยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะการเกิดอาการบาดเจ็บได้อีกด้วย
-
Stride Length: ความยาวของการก้าวขา (เมตร)
ความยาวในการก้าวนั้นสามารถแสดงถึงความแข็งแรงของ และความยื่นหยุ่นของกล้ามเนื้อ
-
Ground Contact Time: ระยะเวลาที่เท้าเหยียบพื้นในขณะวิ่ง (มิลลิวินาที)
ระยะเวลาที่เท้าแต่ละข้างแตะพื้น และยกขึ้นนั้นเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ดังนั้นจึงมีการคำนวณเป็นหน่วยที่ละเอียดขนาด มิลลิวินาทีเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำ
สำหรับนักที่วิ่งเพื่อทั่วไป ควรจะมี Ground Contact Time ที่ต่ำกว่า 300 มิลลิวินาที ซึ่งทำให้ประหยัดแรง และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บด้วย -
Ground Contact Time Balance: ความสมดุลของเท้าซ้าย และขวาที่เหยียบพื้นขณะกำลังวิ่ง (เปอร์เซ็นต์)
โดยปกติแล้วเราควรออกแรงจากเท้า 2 ข้างด้วยระยะเวลา และน้ำหนักที่เท่ากัน (ประมาณ 50% – 50%) หรือเบี่ยงเบนเพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการใช้กล้ามเนื้อทั้ง 2ข้างให้ออกแรงเท่าๆกัน และลดโอกาสการเกิดอาการบาดเจ็บ
-
Vertical Oscillation: ค่าการกระเด้งตัวขณะวิ่ง (เซนติเมตร)
ค่าการกระเด้งตัวขณะวิ่ง การอ่านค่าคือ “ค่ายิ่งน้อยยิ่งดี” เนื่องจากการที่เราไม่กระเด้งตัวขึ้น-ลง มากไปในแต่ละก้าว จะทำให้ความยาวในการก้าวเพิ่มขึ้น เสียพลังงานที่สูญเปล่าน้อยลง เพราะไม่ต้องเสียแรงในการกระเด้งตัวขึ้นสูงขณะวิ่ง และที่สำคัญยังช่วยลดแรงกระแทกของร่างกายอีกด้วย ดังนั้นค่า Vertical Oscillation จึงถือเป็นค่าที่สำคัญอีกค่าที่นักวิ่งควรทราบเลยทีเดียว
-
Vertical Ratio: สัดส่วนของค่า Vertical Oscillation ต่อ Stride Length (เปอร์เซ็นต์)
เป็นค่าที่บอกถึงประสิทธิภาพในการวิ่ง ว่าในแต่ละช่วงของการวิ่งเรานั้นดีมากน้อยเพียงใด
ในขณะที่วิ่ง การกระเด้งตัวในแนวดิ่งนั้นถือเป็นช่วงที่ “แรงเสียเปล่า” ดังนั้นหากอัตราส่วนที่ต่ำจึงบ่งบอกถึง
การแรงเสียเปล่าที่น้อยลง หรือก็หมายความว่าเรามีประสิทธิภาพการวิ่งที่ดีขึ้น หรือจำง่ายๆว่า “ค่ายิ่งน้อย ยิ่งมีประสิทธิภาพ”
(ฟังก์ชั่นเสริม ที่สามารถดาวน์โหลดได้จาก Connect IQ)
สำหรับผู้ที่ปั่นจักรยานอย่างจริงจังในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คงรู้จัก Power Meter หรือตัววัดค่าการออกแรงที่แท้จริงในขณะปั่นจักรยาน
แต่ในปัจจุบัน Garmin ได้พัฒนาความสามารถของนาฬิกาจนสามารถวัดค่า Running Power ได้แล้ว
การวัด Running Power นั้นคำนวณมาจากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น รอบขา Cadence, Vertical Oscillation, Stride Length และข้อมูลอื่นๆ นำมาคิดคำนวณรวมกัน เพื่อแสดงผลออกมาเป็น “Running Power”
ค่า Running Power นั้นจะตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่อคุณเร่ง หรือลดความเร็ว และจะมีความชัดเชนสูงมากเมื่อคุณวิ่งขึ้นทางชัน หรือวิ่งลงเนิน โดยค่านี้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้มากมายไม่ว่าจะเป็น การดูควบคู่กับ Pace เพื่อประมาณแรงที่เหลือของตนเอง
ประมาณค่า Power ขณะวิ่งขึ้นทางชัน ให้เท่าๆกับขณะที่วิ่งทางราบ เพื่อประหยัดแรง
หรือใช้ในการออกแบบการฝึกซ้อม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น